fd-additives

Today December 08 , 2024

News

ท้องเสียเรื้อรังในสัตว์เลี้ยง 2

ความหมายของท้องเสียเรื้อรัง

  • มีความผิดปกติของการถ่ายอุจจาระ ความถี่ ปริมาณของอุจจาระ และลักษณะของอุจจาระ เช่น เหลว เป็นน้ำ หรือเป็นมูกเลือด นานมากกว่า 3 สัปดาห์
  • ท้องเสียต่อเนื่อง หรือ เป็นๆหายๆ
  • บริเวณที่มีปัญหาส่วนลำไส้เล็ก, ส่วนลำไส้ใหญ่ หรือ ร่วมกันทั้งสองส่วน

สาเหตุ:  อาการท้องเสียเรื้อรังอาจเกิดจากสาเหตุใหญ่ๆคือ

  • 1. โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารโดยตรง (Primary gastrointestinal disease)
  • 2. โรคที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร (Secondary gastrointestinal disease)

 โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารโดยตรง

  1. โรคติดเชื้อ แบคทีเรีย – Salmonella, Campylobacter, Clostridium, Enteropathogenic E.coli
  2. ไวรัส – Parvovirus, Coronavirus
  3. โปรโตซัวและพยาธิ – Giardia, Tritrichomonas, Helminths
  4. การแพ้อาหาร
  5. เนื้องอกที่ระบบทางเดินอาหาร
  6. ภาวะไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร  (Microfloral Dysbiosis)
  7. กลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร  (Inflammatory Bowel Disease, IBD)

โรคที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารโดยตรง

  1. ความผิดปกติของตับอ่อน (Exocrine Pancreatic Insufficiency, EPI)
  2. โรคตับ โรคไต
  3. โรคของต่อมไร้ท่อ Hypoadrenocortism, Hyper/Hypothyroidism
  4. โลหิตเป็นพิษ
  5. มดลูกอักเสบเป็นหนอง (Pyometra), เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis)
  6. ยาและสารพิษ

ดังนั้นจะเห็นว่ากลุ่มอาการท้องเสียเรื้อรังในสัตว์เลี้ยงมีสาเหตุเบื้องหลังมากมาย การตรวจอุจจาระอย่างเดียวแล้วบอกว่าพบแบคทีเรียมาก แล้วทำการรักษาเลยอาจไม่ได้ใช่วิธีที่เหมาะสมที่สุดเสมอไป

การวินิจฉัยและการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจำเป็นต้องทำในกรณีที่เป็นเรื้อรังมานานรวมถึง

  • ตรวจค่าเลือด, ตรวจปัสสาวะ
  • ตรวจอุจจาระ 
  • เอ็กซ์เรย์, อัลตร้าซาวด์
  • ตรวจลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา

ในกรณีที่สงสัยปัญหาเฉพาะโรต อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเฉพาะออกไป เช่น

  • การใช้ฮอร์โมนกระตุ้นในสุนัข  ACTH stimulation test in dogs, T4/TSH
  • ตรวจคัดกรองปัญหาที่เกี่ยวข้องกับไวร้สในแมว FeLV/FIV testing in cats
  • TLI  (Trypsin Like-Immunoassay)
  • Folate & Cobalamin (Vitamin B12)
  • การทดสอบที่เกี่ยวข้องกับอาหาร หรือยาบางชนิด

 การพยากรณ์โรค:  กรณีที่มีปัญหาท้องเสียเรื้อรัง รุนแรง ผลการรักษาและการพยากรณ์โรคจะมีความแตกต่างกันมากและไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา การรักษาบางอย่าง เช่นการใช้ยากดภูมิที่เข้าสเตียรอยด์ อาจมีผลข้างเคียง เช่นสัตว์มีอาการ ปัสสาวะบ่อย กินน้ำมาก กรณีมีปัญหาในเรื่องการย่อย-การดูดซึม อาจพบอาการกล้ามเนื้ออาจลีบ

จากการศึกษาสัตว์ป่วยที่เป็น IBD - Inflammatory Bowel Disease (Craven et al. 2004) ซึ่งเป็น กลุ่มอาการท้องเสียเรื้อรังที่เกี่ยวเนื่องกับระบบภูมิต้านทาน และก่อให้เกิดอาการอักเสบของเยื่อบุทางเดินอาหาร พบว่า 50% มีการกลับมาเป็นซ้ำ และ 17% ไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆเลย

 

 

 

 

: